top of page
Writer's pictureNIA 100 FACES

ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย | ขับเคลื่อนท้องถิ่นให้ก้าวไกลต้องทำประชาธิปไตยให้เข้มแข็ง

Updated: May 13, 2023




การสร้างความเข้าใจประชาธิปไตยที่ดีนั้น จำเป็นที่ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้ภาคประชาชน และการสร้างความรู้ที่เป็นเชิงประจักษ์คือการลงมือทำให้ดูทำให้เห็น ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐที่ต้องนำแนวทางมาสู่การปฏิบัติเพื่อเป็นตัวอย่างสำคัญให้กับประชาชน ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นักวิชาการด้านกฎหมายของประเทศไทยที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะการส่งเสริมหลักประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืนพึ่งพาตนเองได้ ผู้มุ่งมั่นสร้างผลงานเชิงประจักษ์เพื่อเป็นแบบอย่างและความสำเร็จในการพาประเทศให้เกิดบรรยากาศแห่งประชาธิปไตย


ศาสตราจารย์วุฒิสาร นำองค์ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาผลักดันการบริหารงานระดับท้องถิ่นของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง ไม่ว่าจะเป็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การขับเคลื่อนท้องถิ่นให้พึ่งพาตนเองเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง มีธรรมาภิบาลนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม


“การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นนั้นหลักการคือต้องให้ท้องถิ่นอยู่ได้ ภายใต้รายได้ที่มีอยู่ ทรัพยากรที่มีอยู่ บริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด สิ่งสำคัญคือท้องถิ่นต้องมีอิสระ จากนั้นเพิ่มขีดความสมารถด้วยการทำตัวอย่างที่ดีมีประโยชน์ ถอดบทเรียนให้เห็นว่ากระบวนการทำสำเร็จแล้วต้องทำอย่างไร จัดทำให้เป็นแนวทางเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของเขาได้”


โดยแนวทางที่ถูกนำมาใช้ในการพัฒนานั้นศาสตราจารย์วุฒิสาร หยิบยกเรื่องของการให้รางวัลซึ่งเป็นกลไกที่สถาบันพระปกเกล้าใช้ คือ“รางวัลสถาบันพระปกเกล้า” โดยเฉพาะจากการศึกษาวิจัย เช่น การยกย่องท้องถิ่นที่บริหารจัดการอย่างโปร่งใส การสร้างความสมานฉันท์ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม จากนั้นนำผลการศึกษาวิจัยมาถอดบทเรียนเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงความสำเร็จขององค์กรให้องค์กรมีตัวอย่างที่ดี โดยผ่านกลไกลความร่วมมือของทุกคน เช่น สมาคมสันนิบาตแห่งประเทศไทย อบจ. อบต. แห่งประเทศไทย


เรามีประชาธิปไตยมากว่า 80 ปี แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจคำว่าประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้ง

นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมเวทีท้องถิ่นไทย ทำให้ทุกคนเกิดการเรียนรู้นำแนวคิดนี้มาแลกเปลี่ยนกันเป็นระบบที่ทางสถาบันฯ เสริมเชิงการตลาดให้กับทุกคนที่มาเรียนร่วมกันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ดังนั้นกลไกเหล่านี้คือความสำคัญในการเสริมสร้างให้องค์กรท้องถิ่นพัฒนาตนเอง นำการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ มาเสริม


ศาสตราจารย์วุฒิสารกล่าวว่า ความคาดหวังและตัวชี้วัดเรื่องการกระจายอำนาจและการปกครอง คือประชาชนพอใจ ซึ่งจากแนวทางที่ดำเนินมาทำให้ท้องถิ่นมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นมาก ประชาชนมีความเชื่อมั่นและพอใจการทำงานมากขึ้น โดยเหตุผลหลักคือตอบโจทย์ตรงประเด็นตรงปัญหา นอกจากนี้ยังสร้างระบบการแข่งขันกับตนเองในการพัฒนาเชิงคุณภาพ รวมทั้งพยายามเน้นว่าท้องถิ่นต้องกลับมาสนใจปัญหาที่เป็นปัญหาหลักโดยเฉพาะการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งความจริงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นที่รองรับปัญหาเหลื่อมล้ำของคนในสังคมอย่างมาก เช่น การให้บริการทางด้านศึกษาต้องลดความเหลื่อมล้ำด้านฐานะ โดยเด็กทุกคนต้องมีการศึกษาที่เท่าเทียมกัน รวมทั้งต้องมองลึกถึงเด็กที่มีความบกพร่องที่ต้องดูแลอย่างจริงจัง ต่อมาคือผู้สูงอายุต้องพิจารณาทั้งการช่วยเหลือ ดูแล สนับสนุน และกลุ่มผู้พิการซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องให้ความสนใจเพราะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม


“ดังนั้นองค์กรส่วนท้องถิ่น กลยุทธ์หรือวิธีการที่เราใช้คือ ต้องทำการแข่งกับตัวเองและให้ดีกว่าเดิม จะต้องทำปริมาณการบริการที่ดีขึ้นและค้นหาคนที่อาจจะด้อยกว่า เสียโอกาสกว่า เปราะบางกว่าทำการยกระดับขึ้นมา หากสามารถทำทั้ง 2 อย่างนี้ ท้องถิ่นก็จะทำหน้าที่ของตนเองได้สมบูรณ์มากในการยกระดับคุณภาพชีวิตคน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง”


การสร้างสังคมให้สงบเรียบร้อย เป็นรากฐานในการสร้างความสงบของประเทศ ดังนั้นการพัฒนาการบริหารท้องถิ่นให้เป็นองค์กรทันสมัย ใช้แนวคิดการบริหารแบบผสมผสาน จึงเป็นแนวทางสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงระดับชุมชนสู่ระดับประเทศต่อไป


 

Prof. Wuttisarn Tanchai | King Prajadhipok’s Institute

Driving the Community Forward through Democracy


“Although we have had democracy for over 80 years, how many of us truly understand its importance?”


To achieve the most from democracy, it is important to instil the understanding of it among the people and encourage actions that align with democracy. Public sectors should enforce democratic actions to set example for the people. Prof. Wuttisarn Tanchai, Secretary General of King Prajadhipok’s Institute and an academic in democracy. Wuttisarn understands that public participation in local administration is the formula to sustainability and genuine democratic environment.


Wuttisarn implements his knowledge and expertise regarding democracy in driving the local administration. He strongly believes that decentralization, community independence, or good governance can reduce social inequality. “Decentralization means the community can thrive with the resources it has available. The most important thing is that it is independent enough to be able to reach and make the most use of its full potential”, said Wuttisarn.


To make community engagement rewarding, Wuttisarn has suggested awarding the community with successful achievement. Communities with transparent administration, strong collaborations or reduced inequalities are honored with “Prapokklao Institute Award”. Morever, they are invited to share their strategies for success on a local platform.


People’s satisfaction is the measure in deciding if the community has achieved real success in decentralization. The local administration should be able to gain the community’s confidence and trust if the foundation of democracy has been successfully laid. He emphasizes that the local administration should concentrate on the issues of the community whether they involve those of the young, the elderly, or the disabled.








37 views0 comments

Comments


bottom of page