top of page

ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร | ทนายความอาสา..ลดความเหลื่อมล้ำด้านกฎหมายให้ประชาชน

Writer's picture: NIA 100 FACESNIA 100 FACES

Updated: May 13, 2023




สังคมจะสงบสุขได้ต้องมีความยุติธรรมควบคู่ แต่ยังมีคนอีกมากที่ไม่สามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้ ด้วยเพราะความไม่รู้กฎหมายประกอบกับค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ ทำให้สังคมเกิดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความยุติธรรมของสังคม ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เห็นความสำคัญของกระบวนการยุตธรรมที่ทุกคนต้องสามารถเข้าถึง จึงได้จัดทำโครงการ “ทนายความอาสาประจำสถานีตำรวจ” ทั่วประเทศ ที่ได้เป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกจนผ่านคณะรัฐมนตรี ผ่านรัฐสภา และได้รับงบประมาณจัดสรรจากสำนักงบประมาณจนสำเร็จ ทำให้มีทนายความอาสาประจำโรงพักเกิดขึ้น เพื่อให้ประชาชนคนทั่วไปที่เดือดเนื้อร้อนใจมีคดีความ เดินเข้ามาปรึกษาและรับคำแนะนำ พร้อมกับมีทนายอาสาเข้าไปช่วยว่าความในคดี


ดร.ถวัลย์เล่าว่า ทำอาชีพทนายความมา 43 ปีนับตั้งแต่เรียนจบ สิ่งที่ภูมิใจคือการผลักดันโครงการทนายความอาสาประจำสถานีตำรวจจนสำเร็จ เพื่อหวังอยากให้ประชาชนที่มาแจ้งความได้เข้าถึงและมีความรู้ด้านกฎหมาย มีที่ปรึกษาคอยช่วยเหลือด้านกฎหมายให้กับประชาชนที่เข้าไม่ถึงทนายความและพบความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นในสังคมอย่างมาก ซึ่งรัฐธรรมนูญในปี 2560 มาตรา 258 เขียนไว้ว่า “ให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ เพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ” จึงมีแนวคิดในการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม โดยคิดว่าควรจะมีทนายความอาสาประจำสถานีตำรวจเพราะว่าประชาชนไม่รู้กฎหมาย จึงควรมีทนายอาสาให้ประชาชนได้เข้ามาปรึกษาปัญหากฎหมาย ให้คำแนะนำด้านคดีความ จึงได้เสนอแผนโครงการทนายความอาสาไปยังคณะปฏิรูปประเทศ เมื่อเสนอแผนผ่าน ครม. และรัฐสภา บรรจุในยุทธศาสตร์ชาติ ผลักดันจนของบประมาณได้สำเร็จ จากเดิมตั้งแต่ปี 2561 ที่ได้อยู่ 150 สถานีตำรวจ ขยายมาปัจจุบันที่ 203 สถานีตำรวจทั่วประเทศ


“บ้านเราประชาชนไม่รู้กฎหมาย ไม่เข้าใจข้อกฎหมาย มีความเดือดร้อน ไม่มีที่ปรึกษาด้านกฎหมาย อาจจะทำผิดโดยไม่รู้ ทำผิดทั้งกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง จึงมีความจำเป็นต้องมีที่พึ่งทางกฎหมาย อย่างน้อยมีทนายความอยู่ที่สถานีตำรวจอย่างน้อย 1 คน”


เรารู้กฎหมาย เราต้องช่วยคน ลดความเหลื่อมล้ำ ให้คนได้เข้าถึงความยุติธรรม

ดร.ถวัลย์เล่าอีกว่า ผู้ที่จะเป็นทนายความอาสามีหลักเกณฑ์คือ ต้องมีพื้นฐานด้านกฎหมายและคดีอย่างน้อย 2 ปี พื้นฐานพอมีประสบการณ์ด้านว่าความคดีมาบ้างแล้ว ซึ่งก็มีการอบรมสัมมนาให้ตลอดเวลาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ตั้งแต่ก่อนและหลังเป็นทนายความ เพิ่มพูนความรู้ทักษะประสบการณ์ โดยมีหลักสูตรผู้ช่วยทนายอาสามาประกอบด้วยจะได้ฝึกทักษะ มีประสบการณ์ มีการอบรมตลอดเวลาเพื่อช่วยกำกับดูแลให้คำปรึกษาแก้ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ


“เราต้องช่วยเหลือประชาชนที่ไม่รู้กฎหมาย ยังไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ทั่วถึง จึงต้องมีทนายความเข้าไปช่วยเหลือด้านกฎหมายไม่ว่าจะทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยต้องใช้ทนายความทั้งนั้น จึงอยากให้ประชาชนใช้สภาทนายความเป็นที่พึ่งด้านกฎหมาย ทั้งการให้คำปรึกษา การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย การช่วยเหลือด้านคดีแก่ผู้ยากไร้ให้ได้รับความเป็นธรรม ช่วยดำเนินคดีให้ด้วย”


ด้วยแนวคิดที่ต้องการให้สังคมเข้าใจและตื่นตัวทางด้านความยุติธรรมเพื่อให้เกิดสังคมสงบสุข นอกจากจัดทำโครงการทนายความอาสาแล้ว ยังจัดให้มีการอบรมทนายความอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการจัดทำการประเมินและตัวชี้วัดในการตรวจสอบการทำงาน ซึ่งทนายความก็ต้องมีพัฒนาการ มีความรับผิดชอบในโครงการนี้และมีผลงานเชิงประจักษ์


การจัดทำโครงการทนายความอาสา นับเป็นการส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมให้เข้าสู่สังคมผู้ที่เข้าไม่ถึงกฎหมาย ได้เรียนรู้เข้าใจ ไม่ทำความผิด และหากได้รับความไม่ยุติธรรมก็มีที่พึ่งพิง นับเป็นการสร้างความยั่งยืนผ่านกระบวนการยุติธรรมที่เปิดให้ทุกคนเข้าถึงได้


 

Acting Sub Lt. Dr.Thawan Ruyaporn | Lawyers Council Under the Royal Patronage

A pro bono lawyer: Narrowing down the legal gap for people


“We know the law, so we need to help other people and reduce justice inequality.”


Equality is one of the requirements for a peaceful society. Still, some Thai people do not have access to equal justice due to lack of knowledge of the law and high lawyer fees. Motivated by the desire to promote justice equality for everyone, Dr Thawan Rayuporn, Director of the Lawyers Council Under the Royal Patronage, initiated the Volunteer Lawyer At Police Station project.


Thawan has been a lawyer for 43 years. The Volunteer Lawyer At Police Station project is one of the projects that he has been proud of the most. The aim of the project is to provide people with access to justice. In his opinion, there are still many people who are not knowledgeable about the law, so when these people visit a police station, they may not know what they need to do. Thus, there should be a lawyer at a police station to provide legal advice and assistance. At present, there are 203 police stations participating in the project, jumping from 150 in 2018. The volunteer lawyer is required to have at least two years of law work experience. “Many Thai people do not know the law. The lack of knowledge has the potential to lead them to break the law, whether it be the Criminal Law or the Civil Law. Thus, there is the need for volunteer lawyers,” said Thawan.













































57 views0 comments

Comments


bottom of page