top of page

ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ | ความยั่งยืน เริ่มจากความคิดและลงมือทำพร้อมส่งพลังให้เกิดการสานต่อ

Writer's picture: NIA 100 FACESNIA 100 FACES

Updated: May 13, 2023




การทำลายสังคมหรือสิ่งแวดล้อมจากธุรกิจบางประเภทเป็นโจทย์สำคัญที่ นายธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ หรือ คุณไจ๋ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ควอลี่ (Qualy) มุ่งมั่นออกแบบเชิงสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด “นำขยะกลับมาเพิ่มมูลค่า” กับการออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติก


คุณไจ๋ คือหนึ่งในผู้ที่ให้ความสำคัญและตระหนักเรื่องของการใช้ทรัพยากรอย่างมาก ยิ่งเมื่อองค์การสหประชาชาติได้ประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เข้ามามีบทบาทในธุรกิจที่ต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดอยู่แล้ว จึงนำแนวคิดดังกล่าวมาสร้างสรรค์งานที่ตนเองถนัดผสานกับกรอบของ SDGs ทางธุรกิจ โดยเน้นแก้ที่ปัญหาความยั่งยืน ทั้งเรื่องธุรกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเริ่มลงมือทำทันทีทำให้กลายเป็นจุดแข็งของแบรนด์ในเชิงรุก


คุณไจ๋มองว่าธุรกิจของตนเกี่ยวข้องกับการผลิตพลาสติกอยู่แล้ว ซึ่งถ้าปรับวิธีการลงทุนแทนที่ต้องซื้อวัตถุดิบชิ้นใหม่เปลี่ยนเป็นการซื้อขยะพลาสติกมาหลอมเป็นผลิตสินค้าชิ้นใหม่แทน นอกจากได้ช่วยสิ่งแวดล้อมแล้วยังได้ช่วยสังคมได้ทันทีไปพร้อมกับธุรกิจที่เติบโตขึ้น


“เราคิดว่าการลงทุนที่เราต้องจ่าย เราแค่เปลี่ยนจากการจ่ายปกติของเราเป็นการจ่ายให้สังคม ให้สิ่งแวดล้อม การไปซื้อพลาสติกใหม่ ๆ มันก็ต้องลงทุน เงินก้อนเดียวกันเราให้สังคมไม่ดีกว่าหรือ นี่คือเราไม่ต้องรอให้บริษัทมีกำไร เราก็ช่วยเหลือสังคมได้แล้ว”


การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน คือจุดยืนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงนี้ การร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ที่มีเป้าหมายเดียวกันไม่ว่าจะเป็นในสายเทคโนโลยี นวัตกรรม วัสดุ มาผลิตเป็นสินค้าใหม่ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น นวัตกรรมการแยกพลาสติกจากกล่องนม UHT และนำไปหลอมเป็นสินค้าชิ้นใหม่ การทำ MOU ขอซื้อขยะพลาสติกจากโรงงาน ขอรับบริจาคพลาสติกจากมูลนิธิและประชาชน การร่วมมือกับมูลนิธิความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมรับซื้อแหซื้ออวนที่ขาดแล้วจากชาวบ้านเพื่อป้องกันไม่ให้แหอวนหลุดไปในท้องทะเล ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคม โดยนำจุดแข็งด้านความสร้างสรรค์ของตนเองมาเป็นจุดขายของผลิตภัณฑ์โดยเน้นการออกแบบเชิงสื่อความหมายของชิ้นงานให้ผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับการใช้งานสินค้า


การทำธุรกิจมีส่วนในการทำร้ายสังคมและสิ่งแวดล้อม จะทำอย่างไรที่สามารถได้ทั้งเงินและรักษาสังคมสิ่งแวดล้อม

แนวคิดนี้ถือเป็นการแก้ไขปัญหาขยะและปัญหาขาดแคลนสิ่งแวดล้อมได้ไปพร้อมกัน ผู้บริโภคยังสามารถบริโภคได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุดโดยไม่ต้องซื้อของใหม่ แต่ซื้อของที่ถูกผลิตกลับมาใช้ใหม่แทน


“เรามีพื้นฐานในเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว ก็พยายามสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปแบบใหม่ ๆ ในเชิงฟังก์ชันที่เรียกว่ามีหลายฟังก์ชันในชิ้นเดียวช่วยในเรื่องประหยัดสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ การใส่สตอรี่เรื่องราวต่าง ๆ ไปในตัวผลิตภัณฑ์ก็จะช่วยบอกเล่าข้อมูลบอกเล่าความเป็นไปในสถานการณ์ปัจจุบัน สถานการณ์ในอนาคต โดยเป็นการใส่สตอรี่ในผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นคนซื้อหรือไม่ซื้อ แค่เขาเห็นการประชาสัมพันธ์ เขาก็อาจจะไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคของเขา ให้มันเข้าสู่ความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น”


เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาที่เชื่อมโยงเกี่ยวพันกัน วิธีการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนจากผู้ผลิตแล้ว การให้องค์ความรู้กับผู้บริโภคก็เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนควบคู่กันไป ซึ่งคุณไจ๋ได้ส่งเสริมการส่งต่อความรู้ด้วยการเปิดรับนักศึกษาฝึกงาน รวมทั้งออกไปให้ความรู้ตามสถาบันการศึกษา รวมถึงการเปิดโรงงานให้คนเข้ามาศึกษาดูงานเพื่อให้การแก้ปัญหาขยายวงกว้างในอนาคต


การเปลี่ยนแปลงเริ่มได้ที่ตัวเอง โดยช่วยกันย้ายจากฝั่งที่ทำลายมาอยู่ฝั่งที่ช่วยแก้ปัญหา คุณไจ๋ผู้สร้างนวัตกรรมสิ่งของเครื่องใช้ เพื่อเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม และต้องการเป็นจุดเริ่มต้นให้สังคมเพื่อขยายให้จุดนี้กว้างขึ้นผ่านสินค้าและองค์ความรู้



 

Teerachai Suppameteekulwat | New Arriva Co.,Ltd

Putting sustainability into practice


“Businesses can harm society and environment. How do we afford businesses that are profitable and have positive social and environmental impact?”


An advancement of a certain thing can unintentionally cost the wellbeing of its surrounding. Such is the case with business activities. Therefore, it is the responsibility of business executives to figure out ways to minimize negative caused by business activities. Having realized the importance of creating sustainable business, Teerachai or Jai, the Founder and Design Director of Qualy, is devoted to create designs that promote the sustainability of not only the brand itself, but also of the environment. Following UN’s goals of Sustainable Development, Qualy’s products are where sustainability meet creativity - “Upcycling Recycled Trash”.


Since most of Qualy products involve a huge amount of plastic, Teerachai believes that instead of buying more new materials, investment in recycled materials and transforming them into newly designed products will pave way for a circular living. “If the same amount of money that will be spent on new plastic can be used to can help reduce environmental problems, then why not?”, said Teerachai.


Teerachai collaborates with like-minded partners from different fields such as innovation, buys technology and materials to deliver green products, reduce waste disposal and minimize wasting natural resources. For example, to prevent old fishnets from being thrown away in the ocean, Teerachai buys them from the fishermen and turn them into new products. This way, the locals are also involved in the process of sustaining the environment. Qualy products reflect the brand’s manifesto of increasing the value of waste and creating sustainable environment through their business. Today, this has become the strength of the brand.











81 views0 comments

Comments


bottom of page