อาชีพพยาบาลนับเป็นอีกอาชีพที่ต้องมีความเสียสละ อดทน และจิตใจที่เมตตาต่อคนที่เป็นทุกข์จากความเจ็บป่วยทั้งกายและใจ ที่สำคัญยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยในสังคมที่ยังไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลหรือการดูแลที่ดีพอ เนื่องจากขาดทุนทรัพย์ ด้วยช่องว่างนี้เอง ทำให้พยาบาลวิชาชีพที่ทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่ในเวลางาน ยังแบ่งช่วงเวลาว่างมาเป็นพยาบาลอาสาเข้าดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยในชุมชน นางเพ็ญลักขณา ขำเลิศ หรือที่ใคร ๆ เรียกว่า พยาบาลติ๋ง กับฉายา พยาบาลไร้หมวก ผู้ที่เสียสละแรงกายและใจในการนำเอาวิชาชีพมาช่วยเหลือคนป่วยและสร้างเครือข่ายคนดี จนสามารถเปลี่ยนทัศนคติของชาวบ้านที่มีต่ออาชีพพยาบาลได้
พยาบาลไร้หมวก เล่าถึงที่มาของการปวารณาตัวอุทิศตนช่วยเหลือผู้ป่วยแบบตลอดชีวิตว่า ตั้งแต่เรียนจบในสาขาพยาบาลเมื่อปี 2526 ได้เริ่มทำงานที่โรงพยาบาลภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เธอทำงานอยู่มาทุกห้อง ได้ขึ้นเวร เห็นคนไข้นอนรักษาที่โรงพยาบาลด้วยโรคเดิม ๆ จึงคิดทำโครงการพยาบาลออกเยี่ยมตามบ้าน ตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปัจจุบัน แม้ในวัย 60 ปีแล้ว เธอก็ยังเดินไปเยี่ยมผู้ป่วย ดูแลทั้งผู้ป่วยพิการ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต รวมทั้งรับให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ด้วย
จุดเปลี่ยนของชีวิตเกิดขึ้นเมื่อปี 2550 เธอจัดทำหนังสือ “พยาบาลไร้หมวก” เพราะป่วยหนักจนคิดว่าตัวเองคงไม่รอดชีวิต จึงตั้งใจทำหนังสือเล่มนี้เพื่อเล่าประสบการณ์ของตัวเอง และใช้เป็นของชำร่วยในงานศพตนเอง เธอบอกเล่าเรื่องราวในช่วงป่วยที่ได้ใช้การแพทย์ทางเลือก การปฏิบัติธรรม การใช้อาหารเป็นยา เธอทำบุญทุกวัน และตั้งจิตอธิษฐานว่าถ้าไม่ตายจะตั้งใจทำคุณความดีเพื่อแผ่นดิน ดูแลคนทุกข์ยาก คนป่วยคนไข้ไปตลอดชีวิต ตั้งแต่นั้นมาเธอก็เริ่มออกบรรยายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เจ้าหน้าที่พยาบาลเพื่อให้เข้าใจการทำงานด้วยหัวใจ จากความตั้งใจดี ทำให้มีผู้สนับสนุนอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วย รวมทั้งได้มีโอกาสขยายเครือข่ายคนทำดีไปอีกหลากหลายอำเภอ ในการร่วมเป็นสะพานบุญตามวิถีของเธอ
อาชีพพยาบาลถือว่าได้ทำบุญตลอด มันคือบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ การช่วยชีวิตคนที่อยู่ในมือเราเท่ากับเราได้ช่วยหนึ่งครอบครัว
“เวลาพี่ไปสอน พี่จะบอกว่าให้ทุกคนเตรียมตัวตาย โดยให้คิดว่าสักวันหนึ่งเราทุกคนต้องเสียชีวิต เพราะถ้าทุกคนคิดว่าตัวเองจะต้องตายแล้ว เขาจะไม่ทำอะไรที่ไม่ดี แต่เขาจะพยายามทำสิ่งที่เขาช่วยเหลือคนอื่นได้ แต่ในทางกลับกัน คนที่ประมาทจะคิดว่าตัวเองจะไม่ตาย เขาจึงต้องการแต่ความรวย ความเก่ง บ้างก็แข่งกันเพื่อจะได้ดี บ้างก็หลงไปกับโลกสมมติ บ้างก็ไม่ให้อภัยกัน เอาเรื่องลบ ๆ มาคิด ทำให้ทะเลาะกัน สังคมแบ่งแยก
แต่ถ้าคิดได้ว่า ไม่มีใครจะอยู่ได้ตลอดไป เดี๋ยวก็ต้องตายกันทุกคน แต่ก่อนตาย เราต้องเตรียมตัว โดยคิดว่าเราจะเสียดายในสิ่งที่อะไรบ้างที่เรายังไม่ได้ทำ และสุดท้ายพี่ก็จะขอให้ทุกคนกลับไปดูแลครอบครัว กลับไปกอดพ่อกอดแม่ กลับไปบอกรักลูก บอกรักทุกคนในครอบครัวนะคะ”
จนถึงวันนี้ ความดีงามที่พี่ติ๋ง พยาบาลไร้หมวกได้ทำไว้ยังผลให้เกิดเครือข่ายคนดีช่วยเหลือกัน และปรับเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนในพื้นที่ที่มีต่อพยาบาลได้อย่างสิ้นเชิง รวมทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนแนวคิดของผู้ร่วมอาชีพให้มองความทุกข์ของผู้ป่วยด้วยใจกรุณา สร้างความรักในหัวใจ ส่งพลังบวก ซึ่งหากพิจารณาแล้ว คำว่า พยาบาล นั้นมีความหมายที่ลึกซึ้งทั้งการดูแลร่างกายและจิตใจ นับเป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงในวิชาชีพพยาบาลด้านการทำงานเชิงรุก และการทุ่มเทช่วยเหลือผู้อื่นมากกว่าหน้าที่ นับเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับอาชีพอื่น ๆ ที่สามารถช่วยเหลือสังคมและผู้คนได้เช่นเดียวกัน
การทำงานเชิงรุก การคิดที่จะแก้ปัญหา และความหวัง ล้วนเป็นแรงผลักดันในการสร้างสังคมที่มีคุณค่า สร้างคนที่มีคุณภาพ และสร้างเครือข่ายให้เกิดขึ้นเช่นเดียวกับวิธีคิดของพยาบาลติ๋ง “พยาบาลไร้หมวก” ที่วันนี้ความตั้งใจของเธอได้สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อชีวิตของผู้ป่วยและนิยามของคำว่า “พยาบาล”
Penluckana Khumlert | Volunteer Nurse
A volunteer nurse works with the heart despite little recognition
“Being a nurse is like making merits. It’s a big merit because helping one person means helping his/her own family too.”
Being a nurse is not an easy job. It takes sacrifices, perseverance, and compassion to care for the unwell, both physically and mentally. Furthermore, many people still lack financial means to access sufficient medication and medical care. To fill this gap, some nurses voluntarily take time off their tight schedules to perform this needed community service. Mrs. Penluckana Khumlert, widely known as Nurse Ting, is one of them.
In 2000, during her first job at Phachi Hospital in Phra Nakhon Sri Ayutthaya, she proposed and implemented a more active and accessible approach to providing medical care and consultation. This approach did not only change how the community perceived the nurses but also helped the nurses themselves view their patients with more compassion and positivity. To this day, in her sixties, Penluckana has been taking care of patients of all sorts and providing medical consultation via phone calls. Motivated by her experience with severe illness, she published a book titled Nurse without a Hat in 2007 to share the stories and perspectives of her lifetime dedication to this service. From then on, she has been giving talks and the much-needed encouragement especially for nurses and medical personnel while at it.
Penluckana believes that being a nurse is more than a duty but also takes dedication and can inspire other professions and individuals to help the society and others in their own ways, e.g., supplying medical equipment and developing a patient-support system.
Comments