top of page
Writer's pictureNIA 100 FACES

กชกร วรอาคม | สวน เมือง และสิ่งสวยงามที่ไม่ต้องมองด้วยตา

Updated: Aug 21, 2021




คืนชีวิตให้เมืองด้วยสวนสาธารณะ โดยสถาปนิกผู้เชื่อมั่นว่าอาคารและต้นไม้มีความสำคัญต่อมนุษย์ไม่แพ้กัน


หนึ่งในบทสนทนาที่เราจะได้พบเจอบ่อยที่สุดเกี่ยวกับการปรับปรุงพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในช่วงหลายปีที่ผ่านมาคงหนีไม่พ้นเรื่องของการเพิ่ม “พื้นที่สีเขียว” ให้เป็นปอดสำหรับเมืองแต่หากจะถามถึงหลักการและวิธีในการสร้างพื้นที่เช่นนี้มีน้อยคนนักที่จะให้คำตอบได้กระจ่างชัด “กชกร วรอาคม” ภูมิสถาปนิกผู้ก่อตั้ง Land Process 1 ใน 100 บุคคลทรงอิทธพลปี 2562 จากนิตยสาร Time และคนไทยคนแรกที่ได้เป็นสมาชิก TED Fellows อาจเป็นเพียงไม่กี่คนที่ให้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจนที่สุด ในฐานะเจ้าของผลงานการออกแบบอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่นปี 2561 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสวนเกษตรลอยฟ้าสยามสแควร์ พื้นที่สีเขียวกลางเมืองที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงในฐานะงานภูมิสถาปัตย์ไอเดียล้ำที่ชวนให้ฉุกคิดถึงความเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งระหว่างพื้นที่นอกอาคารและความอุดมสมบูรณ์ภายในร่างกายของคนเมือง


ชีวิตนอกอาคาร

เรามักจะมีภาพจำเมื่อพูดถึง “สถาปนิก” ว่าเป็นอาชีพของคนออกแบบอาคาร สิ่งปลูกสร้างให้สวยงามและเกิดประโยชน์ใช้สอย แต่งานของภูมิสถาปนิกเน้นหนักไปที่การออกแบบ “ภูมิทัศน์” (Landscape) จัดวางพื้นที่ทั้งในและนอกอาคารเพื่อพัฒนาคุณภาพของพื้นที่นั้น ๆ ทั้งในแง่ประโยชน์การใช้งานและปรับปรุงสภาพแวดล้อม ขอบเขตงานภูมิสถาปัตย์จึงไม่ได้อยู่เพียงภายใต้กรอบของสุนทรียภาพ เพราะต้องรวมการปรับปรุงพฤติกรรมและคุณภาพชีวิตของทุกชีวิตในพื้นที่นั้น ๆ เป็นเป้าหมายสำคัญด้วย

“เมื่อก่อนเราพูดกันว่า ชีวิตในห้องแอร์ในอาคารมันอุดอู้ไม่ดีต่อสุขภาพเลย พอมาสมัยนี้กลับกลายเป็นว่าพอออกมาเดินข้างนอกอาคารดูอันตรายมากกว่าเดิมอีก มันเลยทำให้โจทย์ของเรามันชัดเจนขึ้น ท้าทายมากขึ้นว่าเราจะทำอย่างไร ในเมื่อเมืองมีพื้นที่สีเขียวน้อยเหลือเกิน” การขับเคลื่อนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของพื้นที่สีเขียวด้วยการพัฒนาวิถีชีวิตนอกห้องถือเป็นโจทย์หลักในการทำงานของ “อาจารย์กชกร” สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นอยู่ในผลงานสำคัญหลายชิ้น ยกตัวอย่างเช่น การแก้ปัญหาแหล่งอาหารในเมืองด้วยสวนเกษตรลอยฟ้า ยกระดับคุณภาพการเยียวทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ด้วยสวนบำบัดลอยฟ้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดี และเพิ่มพื้นที่สำหรับกักเก็บน้ำในเมืองด้วยอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“มันเกี่ยวข้องกันหมดเลย ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ปัญหาเกาะความร้อนเมือง (Urban Heat Island) ลมไม่พัดทำให้กลุ่มมลพิษจากการเผาและการจราจรก็ตกค้างอยู่ในเมือง ปัญหาพวกนี้มันเกิดขึ้นแล้วและถึงเวลาที่เราจะต้องแก้ไขกันอย่างจริงจังด้วยนวัตกรรมการใช้ชีวิต”


อยากให้เข้าใจตรงกันว่า พื้นที่สีเขียวเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานของเมือง

ภาวะอยู่สบาย

“แค่มีพื้นที่สาธารณะอย่างเดียวมันอาจไม่พอ เราต้องการมีพื้นที่ที่สร้างระบบนิเวศที่ดีให้กับเมืองด้วย พื้นฐานที่สุดก็คือพื้นที่สีเขียวที่ช่วยปรับปรุงระบบนิเวศของเมืองให้ดีขึ้น และไม่ใช่แค่ดีกับคนเท่านั้น มันต้องดีกับต้นไม้ กับดิน กับสัตว์เล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน” อาจารย์กชกรยืนยันว่าเราอาจเปลี่ยนโฉมของเมืองอย่างรวดเร็วแบบพลิกฝ่ามือไม่ได้ แต่การให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใหม่ ๆ จะช่วยเร่งให้กระบวนการปรับปรุงเมืองรุดหน้าไปด้วยความรวดเร็วและยั่งยืนยิ่งขึ้น ผลงานชิ้นล่าสุดอย่าง พระปกเกล้าฯ สกายปาร์ค ที่เป็นการร่วมมือกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) และอีกหลายหน่วยงานในกรุงเทพฯ พลิกโฉมโครงสร้างสะพานที่ถูกทิ้งร้างให้เป็นสวนสาธารณะ เป็นการยืนยันอย่างดีว่าเมืองยังคงมีพื้นที่ให้กับธรรมชาติเสมอ

“นักออกแบบนี่จริง ๆ แล้วเป็นหนึ่งในปัจจัยของปัญหาธรรมชาตินะ เราเป็นคนกำหนดว่าจะใช้ทรัพยากรแบบไหนสร้างอะไรขึ้นมาบ้าง นวัตกรรมของเราตอนนี้มันเลยไม่ใช่ของไฮเทคอะไร แต่เป็นวิธีการใหม่ในการแก้ปัญหาโดยเบียดเบียนธรรมชาติให้น้อยที่สุด”


 

Bring Back the Good Life by Reviving the City

In recent years, people have developed an interest in developing their living areas by adding more green spaces to be the lung of the cities, but only few could understand it as deeply as ‘Kotchakorn Voraakhom’. She is a landscape architect who establishes ‘Land Process’, regarded one of the most influential people of 2019 according to Time Magazine, and the first Thai membership of TED Fellows. “We always remember that architects are the career of building designers, who aim to design beautiful and useful buildings. But, the work of the landscape architect is highly focused on the design of landscape and arrangement of inside and outside the buildings to develop spaces both in terms of use and improving the environment. So, the scope of a landscape architect is not just within the framework of aesthetics. We have to combine adjusting the behavior and quality of life of every life in that area as an important goal.” “Back in the days, we used to say that life in the air-conditioned room in the building was stuffy and not good for our health. These days, it turns out that outdoor living seems even more dangerous due to the worrying lack of green spaces. The intensifying problems concerning PM 2.5, Urban Heat Islands, open burning of waste, and traffic, are all interrelated and remained in the city. The problems are now clearer than ever, and it is time to tackle them with innovations in urban living.” “Having public spaces alone is not enough. The bottom line is to improve the urban ecosystems to accommodate not only humans but also other living beings.” “True landscape designers need to know how to use resources for their innovation whilst exploting the least from the nature.”

175 views0 comments

Comentarios


bottom of page