การเปลี่ยนแปลงพัฒนาจะเกิดขึ้นได้ เราต้องลงมือทำอย่างต่อเนื่องและตั้งใจจนเกิดผลลัพธ์ และต้องทำซ้ำจนพิสูจน์ได้ว่าผลลัพธ์นั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง นี่จึงนับเป็นหลักการสำคัญของการเป็นนวัตกร คุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร หรือ คุณต้อง เจ้าของเพจ 8 บรรทัดครึ่ง เพจที่ครองใจผู้คนที่สามารถจับจุดคนทั่วไปได้อย่างดีในการอ่านหนังสือที่พบว่าสถิติคนไทยอ่านหนังสือไม่เกิน 8 บรรทัด จนปัจจุบันมีผู้ติดตามมากถึงเกือบ 2 แสนคน และยังมีช่องทางในการติดตามเพิ่มเติมไปยัง Podcast YouTube และ Blockdit และยังเป็นผู้มีแนวคิดว่า นวัตกรรมมันต้องผิดก่อนถึงจะถูก อย่ากลัวผิดและลงมือทำให้มาก
คุณต้องเล่าว่า จุดเริ่มต้นของการทำเพจ 8 บรรทัดครึ่ง เริ่มต้นตั้งแต่หลังกลับมาจากเรียนจบที่อเมริกา ปี 2556 ด้วยความที่เป็นคนชอบอ่านหนังสือ เลยมีความคิดอยากจะเก็บคอนเทนต์ดี ๆ ไว้สักที่หนึ่ง ในช่วงปี 2558–2559 เลยทำเพจชื่อว่า 8 บรรทัดครึ่งขึ้นมาเพื่อเก็บเอาไว้อ่าน โดยคอนเซ็ปต์ที่วางไว้คือ จะเขียนเนื้อหาสั้น ๆ แต่เขียนทุกวัน ทำให้มีคนเริ่มมาติดตามอ่านไปด้วยกัน นับเป็นการแบ่งปันหนังสือที่อ่านมาให้กับสังคม แบ่งปันความรู้และมุมมองต่าง ๆ ในยุคปัจจุบันและองค์ความรู้ที่มีไปสู่การปฏิบัติได้จริง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ
“เราได้รับ feedback ที่ดีจากผู้ที่ติดตาม เราก็ไม่ได้วางแผนว่ามันจะต้องเปลี่ยนแปลงยิ่งใหญ่ แต่มันเติบโตจากสิ่งที่เราชอบทำ คอนเทนต์มันก็จะเลือกคนอ่านและคนฟัง ซึ่งเขาพบว่ามันมีประโยชน์และว่ายังติดตามอ่านอยู่เรื่อย ๆ ดังนั้นเราก็เลยทำต่อ เพราะว่ายังมีคนฟัง และเราก็ยังอ่านหนังสืออยู่เหมือนเดิม เราไม่ได้พยายามที่จะใหญ่โดยที่ไม่มีเหตุผล แต่มันเป็นสิ่งที่เราทำอยู่แล้ว เราคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ match กับสิ่งที่เราสนใจอยู่แล้วด้วย ผมไม่ได้เอาทฤษฎีมาคุย แต่เอาเรื่องจริงมาคุย เอาวิธีจริง ๆ มาเล่าถึงสิ่งที่เราลองทำ คนติดตามเขาก็เอาไปปรับใช้ในการทำงานของเขา บางอย่างอาจจะดีบางอย่างอาจจะไม่ดี เขาก็จะได้เป็นไอเดียไปใช้ จริง ๆ ที่เอาไปทำได้ส่วนใหญ่ประโยชน์ก็คือการที่เขาเอาไปปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานในองค์กรของเขาเอง”
นวัตกรรมต้องทำให้ชีวิตใครสักคนดีขึ้น ไม่อย่างนั้นเป็นนวัตกรรมไม่ได้
คุณต้องบอกอีกว่า นับถึงวันนี้สิ่งที่ทำทั้งการเป็นนักบริหารในองค์กร การเป็นผู้สร้างเพจ 8 บรรทัดครึ่งนั้น มาจากการที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงในความเข้าใจในการทำงานของคนยุคใหม่ผ่านการสื่อสาร ทั้งเนื้อหาความรู้ที่นำมาแชร์ หรือแม้แต่การหยิบยกประเด็นต่าง ๆ ในการจัดทำทอล์ก เนื่องจากมองเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถอยู่มาก แต่ขาดการสนับสนุนในด้านอิสระทางความคิดให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้จริง จึงต้องการให้เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นแนวคิดทางสังคมในการเปลี่ยนแปลงความคิดในการบริหารจัดการองค์กรในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งแนวคิดนี้ได้ถูกนำไปใช้ในองค์กรที่คุณต้องบริหาร ทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรใหม่ที่มีอิสระ และสามารถสร้างคนทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงในองค์กรให้เกิดขึ้น
“เราอาจจะมีกระบวนการทำงานแบบเดิมที่เน้นการนั่งประชุม แต่ที่จริงแล้วในคนรุ่นใหม่ที่เขาทำและมีฝีมือระดับโลกเขาต้องการที่ให้อิสระและปล่อยให้เขาได้ทดลองทำ ซึ่งสิ่งพวกนี้อาจไม่ใช่สิ่งที่องค์กร comfortable มาก แต่มันเป็นเหตุที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ เพราะฉะนั้นองค์กรควรมีการปรับวัฒนธรรมองค์กรการทำงานให้คนเก่ง ๆ ได้เติบโต เมืองไทยมี cooperate ที่มี resource อยู่เยอะ และถ้าเราใช้เรื่องพวกนี้ไปกับน้อง ๆ ให้ทำได้ทำงาน ได้ทดลองในสิ่งที่เขาเชื่อ โดยมีองค์กรมาซัพพอร์ต ประเทศไทยซัพพอร์ต ทั้งภาครัฐและเอกชน ผมว่าเราไม่แพ้ชาติอื่น ๆ”
การสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ นับเป็นการสร้างนวัตกรรมการบริหารให้เกิดขึ้น คุณต้องผู้เชื่อในพลังของคนรุ่นใหม่ได้ลงมือทำในองค์กรของตนเองจนสำเร็จ และยังช่วยกระตุ้นคนในสังคมผ่านการสื่อสาร ช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เกิดขึ้นในสังคมวงกว้างต่อไปอีก ซึ่งก็จะช่วยสนับสนุนให้การเปลี่ยนแปลงนั้นยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
Kaweewut Temphuwapat | @eightandahalfsentences
Innovation and social progress are inseparable.
“Innovation is supposed to enhance a person’s life. If not, then it’s not innovation."
Mr. Kaweewut Temphuwapat or Tong, is well-known for his website “Eight and a half sentences,” which has approximately 200,000 followers. There are more channels of his on Podcast, Youtube, and Blockdit. He believes that innovation must be incorrect before it can be right. The page began when he returned from university in the United States. He intended to write a brief anecdote every day for himself to collect and read. People began to follow him later and it became fun for him to share information and viewpoints that can be put into practice.
Tong noted, “All I have done to this day, both as a corporate executive and as the inventor of the Webpage, derived from a desire to build knowledge on how the new generation works via communication.” Despite the fact that Thailand is recognized as a country with numerous talented human resources, it still lacks support in the field of free thinking that can be applied in real life. He wishes to be a part of thrilling social conceptions when ideas about organizational management are converted in this fast-changing moment.
Tong’s concept has been applied by different business owners to develop a new independent organizational culture. This can lead to highly efficient employees in the workplace. Creating a new corporate culture allows managerial innovations to take place. Tong argued that people must believe in the strength of the new generation and strive tirelessly inside their own business to achieve success.
Comments