top of page
Writer's pictureNIA 100 FACES

ศ.กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ | การพัฒนาเมือง คือการนำภูมิสถาปัตยกรรมเข้าไปยกระดับพื้นที่

Updated: May 13, 2023




ภูมิสถาปนิกทำหน้าที่ออกแบบจัดการพื้นที่ทางแนวนอน คือ การออกแบบรอบนอกอาคาร ผังโครงการใหญ่ ๆ พื้นที่สิ่งแวดล้อม หากย้อนกลับไปเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว ศาสตราจารย์กิตติคุณเดชา บุญค้ำ ราชบัณฑิต สาขาภูมิสถาปัตยกรรม สนใจและเลือกศึกษาสาขาวิชาภูมิสถาปนิก เพราะมีความชอบธรรมชาติตั้งแต่เด็ก และมีโอกาสศึกษาต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เห็นวิธีการเปลี่ยนผืนป่าที่เสื่อมโทรมให้กลับมามีชีวิตจนกลายเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ที่มีระบบนิเวศหลากหลาย อีกทั้งมีโอกาสทำงานบริษัทที่ออกแบบสวนขนาดเล็กครั้งแรกในโลก เปิดมุมมองเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ นำไปสู่แนวทางสร้างสรรค์ผลงานของอาจารย์ เช่น การออกแบบสวนสาธารณะและการส่งเสริมงานรุกขกรรมในประเทศไทย


อาจารย์เดชา ภูมิสถาปนิกรุ่นบุกเบิก ผู้ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภูมิสถาปัตยกรรม) ประจำปี 2549 เป็นผู้บุกเบิกด้านการศึกษาและวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมของประเทศไทย อีกทั้งได้ดำเนินงานวางผังหลัก (Master Plan) และออกแบบภูมิทัศน์ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ , สวนหลวง ร.9 และอื่น ๆ รวมทั้งงานภูมิทัศน์วัดโสธรวรารามวรวิหาร ผังแม่บทภูมิทัศน์เดิมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยเน้นการออกแบบเพื่อสังคม มีหัวใจของการออกแบบ คือคำว่า “สาธารณะ” เป็นสำคัญ


กว่า 40 ปีในการทำงานด้านภูมิสถาปนิกและเป็นเสาหลักของวงการภูมิสถาปนิกในประเทศไทย อาจารย์เดชามีหลักการทำงานที่สำคัญก็คือ ต้องมี “ทักษะมนุษย์” ควบคู่ไปกับความสามารถการออกแบบ อาจารย์มองว่า ต้องมีองค์ความรู้ในการวางผังเมืองแต่ละพื้นที่โดยใช้ลุ่มน้ำเป็นเกณฑ์ ซึ่งอาจารย์เดชาได้ใช้วิธีการนี้ตั้งแต่ยังไม่มีระบบคอมพิวเตอร์ในการทำงาน เพื่อให้ประชากรสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างไม่กระทบกับการดำเนินชีวิต แต่เนื่องด้วยปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ล้วนมีผลต่อการกำหนดออกนโนบายของภาครัฐ ทำให้การวางผังเมืองไม่ได้เคารพกฎธรรมชาติจึงทำให้เกิดปัญหา


เราต้องสร้างเมืองโดยเคารพธรรมชาติ การปฏิรูปต้องใช้หลักการเปลี่ยนที่อยู่ของคน กฎหมายผังเมืองไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้

“การวางผังการตั้งถิ่นฐานควรจะใช้พื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการตั้งถิ่นฐานและการใช้สอย คนที่อนุญาตการใช้ที่ดินไม่มีความรู้เรื่องระบบนิเวศ ระบบภูมิสันฐานภูมิสถาปัตยกรรม รู้แต่ผังเมืองปัจจุบัน เราไม่ได้เคารพธรรมชาติ ไม่ได้ใช้หลักความเป็นอยู่ของมนุษย์”


สิ่งสำคัญกับการออกแบบสวนสาธารณะในเมืองคือเรื่องการจัดสรรต้นไม้ อาจารย์เดชาคือผู้ขับเคลื่อนงานรุกขกรรม เพื่อดูแลงานตัดแต่งต้นไม้ใหญ่ให้ถูกวิธี สร้างพื้นที่สีเขียวในเมืองให้สอดคล้องกับการสร้างสวนสาธารณะ งานรุกขกรรมคือการรักษาต้นไม้เสมือนเป็นหมอศัลยกรรมต้นไม้ อาจารย์เดชาเริ่มนำวิธีการศัลยกรรมต้นไม้มาใช้ในการปรับปรุงสวนลุมพินีตั้งแต่ปี 2515 จนถึงปัจจุบันในการเลือกต้นไม้มาปลูกให้อยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ได้อย่างยั่งยืนโดยไม่เน้นที่การนำต้นไม้ใหญ่มาค้ำยัน หรือที่เรียกว่าการล้อมต้นไม้ อีกทั้งการให้ความรู้เรื่องการดูแลรักษาต้นไม้ในเมืองอย่างถูกวิธี ตั้งแต่การตัดแต่ง การซ่อมแซม และการรักษา


นี่คือสิ่งที่อาจารย์เดชาพยายามจะต่อสู้เพื่อการออกแบบภูมิสถาปนิกยั่งยืน สามารถใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าในทุกพื้นที่ และต้องรองรับการใช้งานที่หลากหลายของกลุ่มคน โดยเน้นที่คำว่า “สาธารณะ” เป็นสำคัญ เหมือนดังชื่อ “สวนสาธารณะ” จึงเห็นได้ชัดเจนจากการออกแบบของสวนสาธารณะที่อาจารย์เดชาได้ออกแบบวางผังเอาไว้ ถึงแม้จะไม่สำเร็จบ้างตามเงื่อนไขปัจจัยการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล แต่ก็ถือว่าเป็น Master Plan ที่เป็นต้นแบบที่มีคุณค่าที่ควรรักษาไว้เป็นต้นแบบ


การสร้างภูมิสถาปัตยกรรมที่ดี ต้องมองที่คนใช้ และสภาพพื้นที่ จึงจะเกิดประโยชน์ที่แท้จริง และสร้างให้เกิดความสมดุลในการใช้ชีวิตและพัฒนาเมืองในด้านต่าง ๆ ต่อไป

 

Prof.Emeritus Decha Boonkham | Fellow of Landscape Architecture

Developing the cities: Enhancing the landscapes


“We need to respect nature; the town planning law cannot win nature.”


As a landscape architect, Prof. Emeritus Decha Boonkham has years of experience in planning and designing outdoor areas. His great passion for nature and landscape design started when he was a kid. This later motivated him to take a master’s degree in landscape architecture at Harvard University where he broadened his perspective on landscape design and became aware of a close connection between humans and nature.


Decha was chosen National Artist in visual arts in 2006. As a pioneer of landscape architecture, he designed the master plans of many important landscapes in the country such as

Suanluang Rama IX Park, Queen Sirikit Park, and Bencha Siri Park. The “public” benefit is always at the heart of his design. In his opinion, a park should be designed for everyone rather than for some specific groups of people. “To be successful in landscape planning, you need to have both human soft skills and knowledge, and you should be able to cleverly make use of space. Most importantly, humans should still be able to live in harmony with nature,” said Decha.


His work also involves arboriculture or the care for trees and bushes in the public parks. He first adopted the practice of tree surgery at Lumphini Park in 1972, which has continued up to the present.











57 views0 comments

Commentaires


bottom of page