“โลกร้อน” หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นปรากฏการณ์ที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และระบบนิเวศ การพัฒนาที่มุ่งเน้นแต่ทางเศรษฐกิจ หรือทางกายภาพ จนรบกวนความสมดุลของธรรมชาติ ทำให้วันนี้โลกเรากำลังส่งสัญญาณเตือนด้วยปรากฏการณ์ต่าง ๆ เช่น ความแห้งแล้ง อุทกภัย ความรุนแรงของพายุ และภัยพิบัติในรูปแบบใหม่ ๆ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คน
ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ หรือที่ใครหลาย ๆ คนในแวดวงสิ่งแวดล้อมเรียกกันติดปากว่า ‘อาจารย์จำเนียร’ ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ทำให้คนไทยรู้จักคำว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) และภาวะโลกร้อน (global warming) และเป็นผู้นำในการสร้างแนวทางขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาและผลกระทบจากภาวะโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรม
ดร.จำเนียรเล่าว่า การเกิดภาวะต่าง ๆ ที่สุดโต่งอยู่ในตอนนี้ ล้วนมาจากน้ำมือของมนุษย์ทั้งสิ้นที่ต้องการการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การพัฒนาเมืองก่อให้เกิดการเสื่อมโทรมลงของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อน ยิ่งถ้าการออกแบบเมืองไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยแล้ว ปัญหาของเมืองก็จะรุนแรงมากขึ้น เมืองที่จะไปนำสู่ความยั่งยืนได้นั้น จะต้องคำนึงถึงความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เหมาะสมและสามารถฟื้นตัวได้เมื่อเผชิญกับปัญหา โดยต้องใช้กระบวนทัศน์ที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (nature-based solutions)
ดร.จำเนียรได้เริ่มปรับกระบวนความคิดของคนในชุมชนเมืองใหม่ผ่านงานวิจัย และการลงศึกษาปัญหาในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ และเริ่มชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการสร้างพื้นที่สีเขียวและความหลากหลายทางชีวภาพว่าต้องทำไปควบคู่กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การใช้ผังเมือง และการพัฒนาท้องถิ่น ภายใต้การบูรณาการการมีส่วนร่วม และความตระหนักของคนในสังคม
“เราสร้างความหลากหลายทางชีวภาพของเมืองได้ อย่างการทำป่าเมือง โดยช่วยกันปลูกดูแลรักษาต้นไม้ การทำเกษตรเมืองใช้พื้นที่ว่างของชุมชนสร้างครัวคนเมืองให้มีผักปลอดสารพิษรับประทาน การทำโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว ช่วยกันสร้างถนนสีเขียว (green street) หลังคาเขียว (green roof) อาคารเขียว (green building) สวนแนวตั้ง (vertical green garden) และแนวหรือระเบียงสีเขียว (green corridor) ช่วยลดความร้อนจากแสงอาทิตย์”
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นภัยคุกคามใหญ่... ถึงเวลาที่ทุกคนต้องช่วยโลกใบนี้สร้างความสมดุล ให้กลับมาอีกครั้ง
การพัฒนาอย่างสมดุลจะสามารถนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง การพัฒนาที่เน้นให้มนุษย์คำนึงถึงขีดจํากัดของทรัพยากร ธรรมชาติบนโลก ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะนำสู่การตั้งรับและการปรับตัวของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมให้การพัฒนาเมืองสู่ความยั่งยืนได้
“คิดว่าเราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ในการสร้างเมืองสีเขียวได้ ทั้งในการฟื้นฟู อนุรักษ์ และพัฒนา โดยการฟื้นฟู คือ การเอาที่รกร้างมาทำประโยชน์ ทำแปลงเกษตร นอกจากจะได้เรื่องสิ่งแวดล้อมแล้ว เรายังได้เรื่องความมั่นคงทางอาหาร และความสัมพันธ์อันดีของคนในสังคม การอนุรักษ์ คือตรงไหนที่เป็นพื้นที่สีเขียวอยู่แล้วก็ควรช่วยกันรักษาไว้ และการพัฒนา คือ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ทำให้มีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น”
ถึงแม้เราจะเริ่มต้นช้า แต่ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะช่วยกันแก้ไขฟื้นฟูความสมดุลของธรรมชาติเรากลับมาอีกครั้ง
การบรรเทาผลกระทบจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นภารกิจที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย การสร้างพื้นที่สีเขียวจะช่วยหยุดยั้งความพิโรธของธรรมชาติที่กำลังทวงคืนความสมดุลจากเราได้ การพัฒนาเมืองจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่อาจารย์จำเนียรได้มุ่งมั่นวางรากฐานนี้ให้กับประเทศและโลก
Dr.Chamniern Vorratnchaiphan | Thailand Environment Institute
The more problems the world is facing, the more green space the world needs
“Climate change poses a grave threat; it is time we brought back balance to our planet.”
Triggered by economic development, global warming is a natural phenomenon that has adversely affected ecosystems and humans. Its consequences can be frequently seen in the form of extreme droughts, floods, and storms. Dr Chamniern Vorratnchaiphan, a co-founder of Thailand Environment Institute, was among the first to introduce the terms “climate change” and “global warming” to Thai people. He has also played a significant role in combating global warming.
According to Chamniern, economic development and human activities are the major causes of damage to the environment. However, he believes that global warming can be reduced if we take into consideration biodiversity and green spaces in the process of urban design. “To address this problem, we need to adopt natural-based solutions. It is important to create biodiversity and green spaces in the city, which can be achieved by building urban forests, green streets, green roofs, green corridors, etc. These activities can lead to a decrease in the temperature,” he suggested.
From his perspective, it is everyone’s responsibility to create and restore green spaces. This can be easily done by turning an empty space to a vegetable garden, which not only helps to reduce the temperature but also contributes to food security. It is not too late to bring back balance to the Earth and create a livable and sustainable urban environment.
コメント