Alex Face ศิลปิน Street Art ผู้สร้างผลงานสะท้อนตัวตนบนกำแพง จุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลงของทัศนะ สุนทรียะ และสังคม
“พัชรพล เเตงรื่น” ผู้ที่ชอบวาดรูปตั้งเเต่เด็กเเละตัดสินใจเรียนต่อที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คนทั่วไปรู้จักเขาในนามของศิลปินสตรีตอาร์ตในชื่อ “อเล็ก เฟส (Alex Face)” เเต่ที่จริงเขายังทำงานศิลปะหลายเเขนงทั้งด้านจิตรกรรมเเละประติมากรรม จากลูกหลานชาวนาธรรมดา พัชรพลซึ่งหลงใหลในศิลปะมาตั้งแต่เด็กจนเมื่อได้เข้าเรียนที่รั้วลาดกระบังในสาขาวิจิตรศิลป์ ในที่สุดเขาก็ได้ค้นพบสตรีตอาร์ตสายแกรฟิตี
พัชรพลเริ่มต้นการพ่นสีมาตั้งเเต่ปี 2545 ด้วยสนใจในวัฒนธรรมแกรฟิตีซึ่งหมายถึงการประกาศตัวตน โดยศิลปินสายนี้จะเขียนชื่อของตนเองไว้ในทุก ๆ ที่ เขาจึงกลับมาคิดว่าอะไรคือตัวตนของเขาที่เขาต้องการประกาศ สุดท้ายจึงออกมาในรูปแบบของการพ่นสีลงบนกำเเพงโดยพ่นเป็นรูปใบหน้าคนในสไตล์ของเขา หลังจากพ่นรูปใบหน้าลงบนกำเเพงในกรุงเทพฯ เป็นเวลา 8 ปี ก็อยากทดลองทำงานใหม่ ๆประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่มีลูกพอดี ผลงานจึงออกมาเป็นคาเเรกเตอร์เด็กสามตาหน้าบึ้งชื่อ “มาร์ดี” ที่ได้เเรงบันดาลใจมากจากลูกสาว ด้วยความที่ในตอนนั้นสังคมวุ่นวายจนเขาเองก็เกิดความกังวลเรื่องลูกว่าจะเติบโตขึ้นมาอย่างไร งานของเขาจึงเป็น
การสะท้อนสิ่งที่เขาคิด ความกังวล อารมณ์ ณ ห้วงเวลานั้น เเละค่อย ๆ พัฒนาเพิ่มเรื่องราวต่าง ๆ เข้าไปใน
คาเเรกเตอร์
คุณค่าของสตรีทอาร์ตนั้นขึ้นอยู่กับมุมมองของเเต่ละคนเเละความเหมาะสมของสถานที่ที่สร้างผลงาน
พัชรพลมองว่า “คุณค่าของสตรีตอาร์ตนั้นขึ้นอยู่กับมุมมองของเเต่ละคนเเละความเหมาะสมของสถานที่ที่สร้างผลงาน” โดยไม่สามารถคาดเดาผลลัพธ์ได้ว่าทำลงไปแล้วคนจะชอบหรือไม่ สิ่งสำคัญไม่ใช่การให้ความสนใจว่าจะต้องทำเพื่อสร้างคุณค่าเเต่คือการทำเพราะอยากทำ เเละหากมองคุณค่าด้านศิลปะสตรีตอาร์ตนั้นมีความหลากหลาย ในมุมมองของคนที่ตั้งใจทำงานอาร์ตนั้นต้องมีองค์ประกอบความงามทักษะ เเละเรื่องที่ต้องการเล่า คุณค่าของสตรีตอาร์ตจึงเป็นเหมือนเสียงสะท้อนจากคนตัวเล็ก ๆ ไปสู่สังคมอย่างตรงไปตรงมา ส่วนเสียงที่สะท้อนออกไปจะส่งผลกระทบได้มากน้อย ก็ขึ้นอยู่กับการอยู่ถูกที่ถูกเวลา เพราะการทำงานในพื้นที่สาธารณะนั้นต้องดูว่างานของเรามีความสัมพันธ์กับพื้นที่อย่างไร การทำงานในเเต่ละพื้นที่จึงต้องดูอัตลักษณ์ของเมือง ความพอดี เเละพอเหมาะไม่เยอะจนเกินไป
นอกจากนิทรรศการใหญ่ ชื่อว่า “ALIVE” ซึ่งจัดแสดงที่ บางกอก ซิตี้ซิตี้ แกลเลอรี่ ในปี 2560 โดยนำเสนอผลงานศิลปะชุดใหม่กว่า 30 ชิ้น หนึ่งในโพรเจกต์ลงพื้นที่สร้างงานศิลป์ที่ส่งผลกระทบที่คาดไม่ถึงเเละน่าประทับใจสำหรับพัชรพลคือการทำงานที่จังหวัดยะลา
“ตอนเเรกที่ไปเมืองเงียบมาก เเต่เมื่อเริ่มลงมือพ่นสีผู้คนก็เริ่มออกมาถ่ายรูป ออกมามีความสุขกับงานศิลปะ ช่วยปลุกให้เมืองที่หลับใหลฟื้นขึ้นมา” ตลอดระยะเวลา 2-3 วัน ศิลปินที่ร่วมก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จนเขาเองยังแปลกใจ ชัดเจนมากว่างานศิลปะทำให้คนจังหวัดยะลามีความสุขอย่างที่เราคาดไม่ถึงในฐานะคนสร้างงานศิลปะ พัชรพลเข้าใจดีว่าศิลปินทุกคนต้องผ่านความลำบากและอุปสรรคต่าง ๆ “การทำมันด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทำเพื่อให้เรามีคุณค่าสำหรับเราเอง เพราะมันหล่อเลี้ยงจิตวิญญานเเละสุดท้ายงานที่ทำมันจะเป็นตัวบอกให้ทุกคนเห็นมันจะเกิดเเรงกระเพื่อมของตัวมันเอง กระบวนการของงานศิลปะมีความสุนทรียะ ทำให้คนละเมียดละไมมากขึ้น ถ้าทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ มีกระบวนการคิดที่อ่อนโยนขึ้น สังคมที่เราอยู่ก็จะละเมียดละไมมากขึ้น”
Street Art and the Changing Definition of Aesthetics
Known by his street artist name “Alex Face”, Patcharapol Tangruen has professionally involved himself in a wide variety of art disciplines from painting to sculpture. Patcharapol has loved drawing pictures since he was young. With his interest in the idea of expressing himself through art, he started spray painting graffiti art in 2002. From then, he invested himself in the discovery of his own style of graffiti amidst the street art scene of Bangkok. He eventually developed his signature style that involves spray-painting human facial expressions on walls. Eight years following that, he began his pursuit of experimentation. Coinciding the commencement of his fatherhood, his well-known graffiti of a frowned three-eyed girl named “Mardi”, which is inspired by his very own daughter, came about. The work was inspired by not only his own daughter but also the anxiety that was built around raising her in the chaos of the society at that time. The character was meant to reflect his worry and emotion about his child growing up in a chaotic society. He has also developed more stories into the character. Patcharapol views street art as a channel to communicate individuals’ messages to the wider society. He further suggests that creators of street art need to be aware of how the art relates to its surrounding space. As a creator of art, Patcharapol acknowledges the struggles and challenges facing the community and believes in the power of art that drives the society. He believes that “We cannot predict the results of work whether people will like it. An important thing is not to create value but to be doing something because you really want to do”.
コメント